วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล

 แบบฝึกหัดบทที่ 4 การสร้างฟอร์ม (Form)

1.ความหมายของฟอร์ม (Form)   
    ตอบ  คือ  หน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อนช่วยให้ผู้ใช้ทำงานกับข้อมูลในตารางได้สะดวกกว่าการใช้มุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับแอปพลิเคชั่นที่ได้สร้างขึ้นมาอีก
2.ประเภทของฟอร์มมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ    มี 5 แบบ   คือ 
            1.ฟอร์มแบบคอลัมน์ (Columnar Form) หรือฟอร์มเดี่ยว ซึ่งเป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูล หนึ่งเรดคอร์ดต่อหนึ่งหน้าของฟอร์ม
            2.ฟอร์มแบบตาราง(Tabular Form) เป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูลทุกเรดคอร์ด
            3.ฟอร์มแบบแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet Form) เป็นฟอร์มที่แสดงทุกเรดคอร์ดในลักษณะแผ่นตาราง เช่นเดียวกับตาราง (Table)
           4.ฟอร์มแบบตารางสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Table Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลหลายมิติหรือหลายฟิลด์ ทำให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
           5.ฟอร์มแบบแผนภูมิสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Chart Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลในลักษณะแผนภูมิ ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้หลายฟิลด์ที่ต้องการ
3.มุมมองของฟอร์มมีกี่มุมมอง อะไรบ้าง
ตอบ        3 มุมมอง คือ
          1.มุมมองเค้าโครง (Layout View) เป็นมุมมองใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Access 2007 ซึ่งคล้ายกับมุมมองการออกแบบตรงที่สามารถจัดรูปแบบของฟอร์มได้ในบางส่วน เช่น การกำหนดสี ปรับขนาดอักษร ปรับขนาดฟิลด์ เป็นต้น แต่แสดงข้อมูลคล้ายในมุมมองฟอร์ม
         2.มุมมองการออกแบบ (Design View) เป็นมุมมองสำหรับสร้างและออกแบบฟอร์ม
        3.มุมมองฟอร์ม (Form View) เป็นมุมมองในการแสดงผลข้อมูลและใช้งานฟอร์ม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขฟอร์มได้
4.เครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบฟอร์มมีอะไรบ้าง
ตอบ       10 รูปแบบ คือ
              1. ปุ่ม Form (ฟอร์มแบบคอลัมน์) เป็นคำสั่งแสดงข้อมูลทีละ 1 เรคคอร์ด
              2. ปุ่ม Split Form (ฟอร์มแยก) สามารถเห็น 2 มุมมองในเวลาเดียวกัน คือมุมมองฟอร์มและมุมมองแผ่นตารางข้อมูล แสดงรายการของเรคคอร์ดทั้งหมด
              3. ปุ่ม Multiple Items (หลายรายการ) สร้างฟอร์มแบบตาราง
             4. ปุ่ม PivotChart เป็นการสร้างแผนภูมิ เพื่อสรุปผลข้อมูลแบบหลายมิติ
             5. ปุ่ม From Wizard (ฟอร์มเพิ่มเติม-->ตัวช่วยสร้างฟอร์ม) ใช้เครื่องมือช่วยสร้างฟอร์มที่ เรียกว่า วิซาร์ด ทำให้การสร้างฟอร์มง่ายและเร็วยิ่งขึ้น
             6. ปุ่ม Datasheet (แผ่นข้อมูล) สร้างฟอร์มในรูปแบบแผ่นตารางข้อมูล แสดงได้หลายเรคคอร์ดต่อ 1 หน้า สะดวกในการใช้งานกับแป้นพิมพ์ แต่ไม่สามารถสร้างปุ่มคำสั่งบนฟอร์มได้
            7. ปุ่ม Modal Dialog (กล่องโต้ตอบ) สร้างฟอร์มในลักษณะไดอะล็อกบ็อกซ์ มีการกำหนดคุณสมบัติแบบ Popup และมีปุ่มในการทำงานให้อัตโนมัติ
            8. ปุ่ม PivotTable สำหรับสร้างตารางสรุปข้อมูล
            9. ปุ่ม Blank Form (ฟอร์มเปล่า) สร้างฟอร์มเปล่าด้วยการออกแบบเอง จะเข้าสู่การสร้างในมุมมองเค้าโครง(Layout View)
          10. ปุ่ม Form Design (ออกแบบฟอร์ม) สร้างฟอร์มเปล่าด้วยการออกแบบเอง






วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การโปรแกรมเว็ป 1 Photoshop cs3

สรุป Photoshop Cs3
ส่วนประกอบของ  Photoshop CS3
Application Bar = แถบที่แสดงโปรแกรม Photoshop CS3
Menu Bar = เมนูบาร์เป็นแถบคำสั่งที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานของ Photoshop CS3 ไว้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลุ่มคำสั่งมีความสำคัญ
Option Tools Palette = คุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือ
Tools palette = แถบกล่องเครื่องมือ
Document Window = พื้นที่การทำงาน
Panel = แถบคุณสมบัติพิเศษ มี
-                   วิธีการลบเลเยอร์ที่ไม่ต้องการทิ้งไปสามารถทำได้ เช่น คลิกเมนู Layer Delete หรือ ลากเลเยอร์ไปวางไว้ในทั้งขยะ
-                   เปลี่ยนชื่อเลเยอร์ เป็นชื่อที่เราต้องการทำได้ เช่น กดดับเบิ้ลคลิกที่ Layer แล้วพิมพ์ชื่อกด Enter
Tools Palette = กล่องเครื่องมือหรือ Tools Palette มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยาวภายในบรรจุเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิก แก้ไข และปรับแต่งภาพต่างๆ
กลุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือ Tools Palette
Marquee Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้เลือกพื้นที่ ในรูปทรงแบบเรขาคณิต มีรายละเอียดดังนี้
-                   Rectangular Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่แบบสี่เหลี่ยม เพื่อนำไปใช้งาน
-                   Elliptical Marquee Tool =  เป็นการเลือกพื้นที่แบบวงกลมเพื่อนำไปใช้งาน
-                   Single Row Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวนอนมีความกว้าง 1 พิกเซล
-                   Single Column Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวตั้งมีความกว้าง 1 พิกเซล
Lasso Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระเหมาะกับงานเลือกพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง เครื่องมือมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ
-                   Lasso Tool ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก การใช้งานให้คลิกเมาส์ลากกรอบพื้นที่ที่ต้องการ
-                   Polygonal Lasso Tool ใช้สร้าง Selection แบบเส้นตรง ซึ่งเหมาะสำหรับเลือกรูปภาพที่มีรายละเอียดเป็นเส้นตรงหรือมุมฉาก
-                   Magnetic Lasso Tool  ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเหมาะสำหรับภาพที่มีความแตกต่างของสี การใช้งานเพียงพอแต่ลากเมาส์ผ่านภาพโปรแกรม จะกำหนดส่วนที่เป็นโทนสีเดียวกันสร้างจุด Anchor ขึ้นมา
Magic Wand เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้าง Selection แบบเฉพาะค่าสีคือโปรแกรมจะเลือกส่วนที่มีโทนสีใกล้เคียงกันเพื่อสร้าง Selection วิธีใช้งานเพียงนำเมาส์ไปคลิกบริเวณพื้นที่สีที่ต้องการเลือก
-                   Tolerance เป็นการกำหนดค่าสีหรือเพิ่มจำนวนพิกเซลที่อยู่บนภาพ ก่อนการสร้าง Selection มีค่าตั้งแต่ 0- 255 ระดับ ถ้ากำหนดค่ามากจะทำให้สามารถเลือกความกว้างของช่องค่าสีเพิ่มขึ้น
-                   Anti-alias เป็นการกำหนดขอบของภาพให้เรียบ
-                   Contiguous เป็นการเลือกพื้นที่ในส่วนที่มีค่าสีใกล้เคียง ในกรณีที่ไม่ใช้คำสั่งนี้สีที่ไม่ได้ใกล้เคียงกันไปด้วย
-                   Sample All Layers เป็นการกำหนดพื้นที่สีจากเลเยอร์ทั้งหมด โดยเลือกพื้นที่เหมือนกับเป็นเลเยอร์เดียว กรณีไม่เลือกใช้คำสั่งโปรแกรมจะสร้าง Selection จากเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่



สร้าง Selection ด้วย Quick Mask
            Quick Mask เป็นการสร้าง Selection อีกวิธีหนึ่ง ที่เหมาะกับรูปภาพที่มีความซับซ้อนหรือมีโทนสีใกล้เคียงกันจนไม่สามารถใช้เครื่องมืออื่นตัดพื้นที่ได้ Quick Mask จะใช้ร่วมกับ Brush Tool เพื่อใช้ระบายสีเลือกพื้นที่
การย่อภาพ
ไปคลิกที่ Image เลือก Image size = กำหนดขนาดของภาพ
การทำภาพซ้อนภาพเพื่อนำไปเป็น Background
เลือกรูปมาก่อนแล้ว Save ต่อไปเลือก เมนู Edit เลือก Define Pattern
แล้วเลือก เครื่องมือแถบ Tool bar กดคลิกขวาที่เครื่องมือ Clone Stamp Tool แล้วเลือก Pattern Stamp Tool
แล้วเลือกรูป Pattern บนแถบเมนูด้านบนที่เราได้ Saveไว้ แล้วนำมาระบายในภาพที่เราต้องการ